แนวข้อสอบ ก.พ.แนวข้อสอบ กพ วิชาความรู้และลักษณะการเป็นราชการที่ดี แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 6 1854 Facebook Twitter LINE แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 6 แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 6 ยินดีต้อนรับสู่หน้า แนวข้อสอบวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี 6 (new) แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาแนวข้อสอบวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี 6 Tel 1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ก. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ข. การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น ค. ลดการกระจายภารกิจแก่ท้องถิ่น ง. มุ่งให้เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ 2. ข้อใดไม่ใช่การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ก. ระเบียบบริหารราชการส่วนรวม ข. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ค. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ง. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 3. สำนักนายกรัฐมนตรีมีสถานะเทียบเท่ากับหน่วยงานใด ก. หน่วยงานอิสระ ข.กระทรวง ค. สำนักงานรัฐมนตรี ง. กรม 4. การยุบ ตั้ง และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด จะต้องตราเป็นกฎหมายประเภทใด ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกำหนด ค. พระราชกฤษฎีกา ง. ประกาศกระทรวงมหาดไทย 5. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ก. กรุงเทพมหานคร ข. พัทยา ค. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ง. จังหวัดภูเก็ต 6. แผนปฏิบัติการของส่วนราชการนั้น จะต้องจัดทำขึ้นในระยะกี่ปี ก. 1 ปี ข. 3 ปี ค. 5 ปี ง. 10 ปี 7. ในกรณีที่มีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใดทั้งหมดหรือบางส่วนไปแล้ว จะสามารถกลับมาจัดตั้งหน่วยงานในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นใหม่ได้หรือไม่ ก. สามารถดำเนินการจัดตั้งได้ตามขั้นตอนปกติ ข. สามารถดำเนินการได้ แต่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลปกครองก่อน ค. ไม่สามารถดำเนินการได้ในทุกกรณี ง. ไม่สามารถดำเนินการได้ เว้นแต่มีเหตุผลและความจำเป็นต่อความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ 8. การบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน จะต้องกระทำการในลักษณะใด ก. ให้กระทำการโดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางที่สำนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด ข. ให้กระทำการโดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนด ค. ให้กระทำการตามกรอบข้อกำหนดที่สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศตามแผนงานแต่ละปี ง. ให้กระทำการผ่านเครือข่ายดิจิทัลตามประกาศกระทรวงของกระทรวงต่างๆ ได้กำหนดไว้ 9. ส่วนราชการจะมีการทบทวนภารกิจของตนว่ามีความจำเป็น หรือสมควรที่จะยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงการดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงแผนงานตามข้อใด ก. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข. แนวโน้มอัตราการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ค. นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ง. แผนแม่บท 10. แผนการบริหารราชการแผ่นดินเป็นหน้าที่ของส่วนราชการใด ก. คณะกรรมการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข. รัฐสภา ค. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ง. คณะรัฐมนตรี 11. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ไม่บังคับใช้แก่ข้อใดต่อไปนี้ ก.คณะรัฐมนตรี ข. ปลัดกระทรวง ค. อธิบดีกรม ง. ข้าราชการระดับวิชาการ 12. “การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่าอย่างไร ก. การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง ข. การสอบสวนข้อความผิดทางการปกครอง ค. การพิจารณาโทษความผิดทางการปกครอง ง. การปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในกรณีที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาททางการปกครอง 13. ข้อใดไม่ใช่ “คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” ก. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ข. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ค. ปลัดกระทรวงกลาโหม ง. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี 14. “คำสั่งทางปกครอง” จะต้องจัดทำขึ้นในรูปแบบใดจึงจะสมบูรณ์ ก. จัดทำเป็นหนังสือ ข.บอกกล่าวด้วยวาจา ค. การสื่อสารโดยรูปแบบอื่นที่มีข้อความชัดเจน ง. ถูกทุกข้อ 15. คำสั่งทางปกครองจะมีผลบังคับใช้เมื่อใด ก. เมื่อมีการลงนามสั่งการของเจ้าหน้าที่ ข. เมื่อบุคคลได้รับแจ้ง ค. เมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ง. เมื่อบุคคลได้ลงนามยอมรับคำสั่ง 16. ข้าราชการที่มีหน้าที่จัดซื้อ หรือรักษาในทรัพย์สินราชการใดๆ แล้วเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน จะต้องโทษอย่างไรบ้าง ก. จำคุก 5 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท ข. จำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ค. จำคุก 10 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท ง. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 17. ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น จะต้องโทษอย่างไรบ้าง ก. จำคุก 5 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท ข. จำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ค. จำคุก 10 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท ง. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 18. ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น จะต้องโทษอย่างไรบ้าง ก. จำคุก 5 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท ข. จำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ค.จำคุก 10 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท ง. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 19. ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จะต้องโทษอย่างไรบ้าง ก. จำคุก 5 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท ข. จำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ค. จำคุก 10 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท ง. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 20. ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน รู้หรืออาจรู้ความลับในราชการ กระทำโดยประการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับนั้น จะต้องโทษอย่างไรบ้าง ก. จำคุก 5 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท ข. จำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ค. จำคุก 10 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท ง. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ Time is Up!