แนวข้อสอบ ก.พ.แนวข้อสอบ กพ วิชาความรู้และลักษณะการเป็นราชการที่ดี แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 5 1983 Facebook Twitter LINE แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 5 แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 5 ยินดีต้อนรับสู่หน้า แนวข้อสอบวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี 5 (new) แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาแนวข้อสอบวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี 5 Tel 1. กรณีการละเมิดอันเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือว่าหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบต่อผู้เสียหายในผลแห่งการละเมิดนั้น ก. สำนักนายกรัฐมนตรี ข. กระทรวงมหาดไทย ค. กระทรวงการคลัง ง. สำนักงานข้าราชการพลเรือน 2. เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัวเมื่อความผิดนั้นเกิดขึ้นในลักษณะใด ก. เป็นความผิดจากการปฏิบัติหน้าที่นอกเวลางาน ข. เป็นความผิดจากการปฏิบัติหน้าที่นอกเหนือคำสั่ง ค. เป็นความผิดนอกเหนือการปฏิบัติหน้าที่ ง. เป็นความผิดที่เกิดจากการจงใจกระทำความผิด 3. ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้หรือไม่ ก. สามารถเรียกได้ในทุกกรณี ข. สามารถเรียกได้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นกระทำการด้วยความจงใจ ค. สามารถเรียกได้ในกรณีที่มีอัตราความเสียหายรุนแรง ง. เจ้าหน้าที่ไม่ต้องร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี 4. ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความเท่าไร ก. 90 วัน ข. 6 เดือน ค. 2 ปี ง. 1 ปี 5. ข้อใดไม่ใช่มาตรฐานจริยธรรมตามพระราชบัญญัติมาตรฐานจริยธรรม พ.ศ. 2562 ก. รัฐสภา ข. คณะรัฐมนตรี ค. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ง. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 6. ประธานคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) คือใคร ก. ประธานรัฐสภา ข. นายกรัฐมนตรี ค. รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ง. ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 7. คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) มีหน้าที่และอำนาจในการเสนอแนะและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐต่อข้อใด ก. รัฐสภา ข. สภาผู้แทนราษฎร ค. คณะรัฐมนตรี ง. ศาลปกครอง 8. ข้อใดไม่ใช่หลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐที่จะกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก. รักษาภาพลักษณ์ของราชการ ข. มีจิตสำนึกที่ดี ค. ไม่เลือกปฏิบัติ ง. สำนึกรักบ้านเกิดและสิ่งแวดล้อม 9. สำหรับข้าราชการการเมือง องค์กรใดจะเป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรม ก. รัฐสภา ข. คณะรัฐมนตรี ค. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ง. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 10. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของจริยธรรม ก. ความรู้ ข. อารมณ์ความรู้สึก ค. พฤติกรรม ง. จิตใจ 11. ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนจัดทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด ก. เพื่อให้ข้าราชการเกิดจิตสำนึกลึกซึ้งและเที่ยงธรรมในหน้าที่ ผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีข้าราชการ ข. เพื่อให้องค์การกลางทุกประเภทมีมาตรฐานความประพฤติตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ ค. เป็นการดำเนินการตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล ง. เป็นมาตรการเสริมการรักษาวินัยข้าราชการ 12. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง ก. กรณีที่มีผู้ทักท้วงท่านว่ากระท านั้น ๆ อาจเป็นการขัดประมวลจริยธรรม ท่านต้องหยุดกระทำการและให้มีการส่งเรื่องให้คณะกรรมการจริยธรรมวินิจฉัย ข.เมื่อท่านกระทำการผิดพลาดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ท่านต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้องและแจ้งให้หัวหน้าส่วนราชการทราบโดยพลัน ค. ให้ละเว้นการสัมภาษณ์ การอภิปราย การแสดงปาฐกถา การบรรยายหรือการวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆของท่านอันเป็นการกระทบต่อความเป็นกลางทางการเมือง ง. กรณีที่ท่านเข้าร่วมประชุมและพบมีการกระท าอันเป็นการขัดแย้งต่อหน้าที่หรืออาจให้การปฏิบัติหน้าที่เสียหายท่านต้องคัดค้านการกระทำดังกล่าวและบันทึกคำคัดค้านนั้นไว้ในที่ประชุม 13. ข้าราชการต้องละเว้นจากการแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบโดยอาศัยต าแหน่งหน้าที่ หมายความถึงพฤติกรรมอย่างไร ก. ไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับ หรือยอมให้ผู้อื่นเรียกรับของแทนตนหรือญาติของตน ข. ไม่ใช้ตำแหน่ง หรือกระทำการที่เป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคลใดเพราะมีอคติ ค. ไม่เสนอ หรืออนุมัติโครงการ การดำเนินการ หรือการทำนิติกรรมหรือสัญญา ซึ่งตนเองหรือบุคคลอื่นจะได้ประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ง. ถูกทุกข้อ 14. ข้าราชการใช้เวลาในวันหยุดราชการเข้าร่วมชุมนุมกับประชาชนโดยสงบและไม่มีอาวุธเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเลิกโครงการหนึ่งที่รัฐบาลกำหนดไว้เป็นนโยบายซึ่งมีผลกระทบต่อตน ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ก. ได้เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ข. ได้ เพราะเป็นการกระทำในฐานะประชาชนไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ค. ไม่ได้ เพราะเป็นการ strike ต่อรัฐบาลซึ่งเป็นนายจ้าง ง. ไม่ได้ เพราะเป็นการไม่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล 15. กรณีข้อใดที่ไม่เข้าข่ายเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ก. สมศักดิ์ ผู้บริหารในกระทรวงที่เกษียณแล้วรับเป็นที่ปรึกษาให้แก่บริษัทจ้างเหมา ที่รู้จักกันตอนมารับจ้างเหมางานให้กระทรวง ข. สมศรี พนักงานเก็บสถิติเสนอขายประกันชีวิตตอนออกไปสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ ค. จอมใจ เจ้าหน้าที่ด้านองค์การด้านเวชภัณฑ์ ลาออกไปทำงานในบริษัทขายยา ง. คุณพินิจ ประธานกรรมการจริยธรรมได้รับเลือกเป็นประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดที่บ้านเกิด 16. สำหรับข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือนกลาโหม องค์กรใดเป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรม ก. คณะรัฐมนตรี ข. สภากลาโหม ค. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ง. คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน 17. ผู้ใดไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่งของคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ก. ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายสำนักงานข้าราชการพลเรือน ข. ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ค. ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ง. ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการรข้าราชการตำรวจ 18. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ก. มีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปี ข. ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ค. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ง. ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาท 19. หน่วยงานใด มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ก. สำนักนายกรัฐมนตรี ข. สำนักงานรัฐมนตรี ค. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ง. ถูกทุกข้อ 20. ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ก. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ข. นายกรัฐมนตรี ค. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ง. ถูกทุกข้อ 21. หน่วยงานใด มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง ก. สำนักงานรัฐมนตรี ข. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ค. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ง. ถูกทุกข้อ 22. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการในกรม ก. มีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ข. สำนักงานเลขานุการกรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรม ค. กระทรวง ทบวง กรมใด มีเหตุพิเศษ จะตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ออกเป็นเขตก็ได้ ง. ถูกทุกข้อ 23. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการมอบอำนาจ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ก. ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ มิได้กำหนดเรื่องมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น สามารถมอบอำนาจได้ ข. ผู้ดำรงตำแหน่งอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกัน หรือส่วนราชการอื่นเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้ ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. ง. ไม่มีข้อใดถูก 24. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารราชการในต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ก. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ข. หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบุคคลในคณะผู้แทน ค. หัวหน้าคณะผู้แทนบริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ง. ถูกทุกข้อ 25. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง ก. การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุก ข. การปฏิบัติราชการเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ค. การปฏิบัติราชการเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ ง. ถูกทุกข้อ 26. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ก. ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า ข. การกำหนดแผนปฏิบัติราชการต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะใช้ ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. ง. ไม่มีข้อใดถูก 27. หน่วยงานที่จัดให้มีแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่อให้ส่วนราชการใช้บริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างกัน ก. สำนักงาน ก.พ.ร ข. กรมบัญชีกลาง ค. สำนักงบประมาณ ง. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) 28. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ก. 7 วัน ข. 15 วัน ค. 30 วัน ง. 45 วัน 29. “ให้ส่วนราชการจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ” หมายถึงหมวดใดในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ก. หมวด 5การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ข. หมวด 4การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ค. หมวด 3การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ง. หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน 30. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง คือหน่วยงานใด ก. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ข. สำนักงานศาลยุติธรรม ค. สำนักงาน ก.พ. ง. ไม่มีข้อใดถูก Time is Up!