แนวข้อสอบ ก.พ.แนวข้อสอบ กพ วิชาความรู้และลักษณะการเป็นราชการที่ดี แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 4 1850 Facebook Twitter LINE แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 4 แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 4 ยินดีต้อนรับสู่หน้า แนวข้อสอบวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี 4 (new) แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาแนวข้อสอบวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี 4 Tel 1. ข้อใดต่อไปนี้เป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ก.ควบคุมผู้บังคับบัญชาการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย ข. ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย ค. กำกับดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย ง. สอดส่องดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย 2. เมื่อเกิดกรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ให้บุคคลใดดังต่อไปนี้มีอำนาจแต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน ก. คณะกรรมการจังหวัด ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด ค. รองผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ปลัดจังหวัด 3. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สามารถเรียกชื่อโดยย่อได้ตามข้อใด ก. ก.พ.ร. ข. กพร ค. ค.ก.พ.ร. ง. คกพร 4. บุคคลใดต่อไปนี้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ก. นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ข. รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ค. รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ง. รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย 5. การแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ตามกฎหมายกำหนดให้มีจำนวนเท่าใด ก. ไม่เกิน 5 คน ข. ไม่เกิน 10 คน ค. ไม่เกิน 15 คน ง. ไม่เกิน 20 คน 6. การแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะรัฐมนตรีจะทำการแต่งตั้ง จากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในทางด้านต่างๆ ข้อใดต่อไปนี้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของงานด้านต่างๆที่จะแต่งตั้ง ก. นิติศาสตร์ ข. การบริหารรัฐกิจ ค. การบริหารธุรกิจ ง. การบริหารการศึกษา 7. บุคคลใดดังต่อไปนี้ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ก. เลขาธิการ ก.พ.ร. ข. เลขาธิการ ครม. ค. นายกรัฐมนตรี ง. รองนายกรัฐมนตรี 8. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี ก. 3 ปี ข. 4 ปี ค. 5 ปี ง. 6 ปี 9. ในส่วนของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เมื่อดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ว่างลงก่อนวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาตามข้อใดต่อไปนี้ ก. 15 วัน ข. 30 วัน ค. 45 วัน ง. 60 วัน 10. นอกจากพ้นตำแหน่งตามวาระ ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามกรณีใดดังต่อไปนี้ ก. ตาย ข. ลาออก ค. หย่อนความสามารถ ง. ถูกทุกข้อ 11. ในการประชุมของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าใดของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม ก. ไม่น้อยกว่า หนึ่งในสี่ ของจำนวนกรรมการ ข. ไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการ ค. ไม่น้อยกว่า หนึ่งในสาม ของจำนวนกรรมการ ง. ต้องมาครบทุกคนของจำนวนกรรมการ 12. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นหน่วยงานที่สังกัดส่วนราชการใดดังต่อไปนี้ ก. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ข. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ค. ขึ้นตรงต่อปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ง. สังกัดสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 13. บุคคลในข้อใดต่อไปนี้ ทำหน้าที่เป็นรองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ก. นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ข. รองนายกรัฐมนตรีหนึ่งคนที่นายกรัฐมนตรีได้กำหนดให้เป็นรองประธาน ค. รัฐมนตรีหนึ่งคนที่นายกรัฐมนตรีได้กำหนดให้เป็นรองประธาน ง. ปลัดกระทรวงที่นายกรัฐมนตรีได้กำหนด 14. เมื่อกระทรวงเอ ต้องการที่จะเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เป็นกระทรวงบี จะต้องออกเป็นกฎหมายในระดับใด ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา ค. กฎกระทรวง ง. ประกาศอำเภอ 15. การที่อำเภอ ก. มีพื้นที่กว้างใหญ่ และมีประชากรมากต่อมาเมื่อจะทำการรวมหลายๆ อำเภอที่ใกล้เคียง เพื่อจัดตั้งเป็นจังหวัดขึ้นมาใหม่ต้องออกเป็นกฎหมายตามข้อใด ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา ค. กฎกระทรวง ง. ประกาศอำเภอ 16. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยในส่วนภูมิภาค ก. ส่วนกลางมอบอำนาจการวินิจฉัย สั่งการบางส่วนให้ภูมิภาค ข. เจ้าหน้าที่ทำงานภายใต้บังคับบัญชาจากส่วนกลาง ค. เจ้าหน้าที่นั้นเป็นตัวแทนที่มาจากส่วนกลาง ง. ถูกทุกข้อ 17. ในการตั้ง การยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดจะกระทำได้โดยการออกเป็นกฎหมายในระดับใด ก. ตราเป็นพระราชบัญญัติ ข. ตราพระราชกฤษฎีกา ค. ออกเป็นกฎกระทรวง ง. ออกเป็นประกาศกระทรวง 18. ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ส่วนราชการใดต่อไปนี้ที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่าให้มีอำนาจ และหน้าที่เกี่ยวกับราชการในพระองค์ด้วย ก. สำนักนายกรัฐมนตรี ข. สำนักงานรัฐมนตรี ค. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ง. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 19. อำนาจของนายกรัฐมนตรีในการวางระเบียบปฎิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือกฎหมายอื่น การที่ระเบียบดังกล่าวจะใช้บังคับได้ จะต้องมีบุคคลใดให้ความเห็นชอบก่อน ก. คณะรัฐมนตรี ข. รัฐสภา ค. วุฒิสภา ง. ผู้ตรวจการแผ่นดิน 20. ในการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ ให้กระทำโดยวิธีการใดดังต่อไปนี้ ก. ตราเป็นพระราชบัญญัติ ข. ตราพระราชกฤษฎีกา ค. ออกเป็นกฎกระทรวง ง. ออกเป็นกฎกระทรวง Time is Up!