แนวข้อสอบ ก.พ.แนวข้อสอบ กพ วิชาความรู้และลักษณะการเป็นราชการที่ดี แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 3 2678 Facebook Twitter LINE แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 3 แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 3 ยินดีต้อนรับสู่หน้า แนวข้อสอบวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี 3 (new) แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาแนวข้อสอบวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี 3 Tel 1. คณะบุคคลใดต่อไปนี้ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินภายในจังหวัด ก. คณะกรรมการจังหวัด ข. คณะกรมการจังหวัด ค. คณะที่ปรึกษาจังหวัด ง. คณะกรรมการกฤษฎีกา 2. บุคคลในข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่คณะกรมการจังหวัด ก. ปลัดจังหวัด ข.อัยการจังหวัด ค. บังคับการตำรจภูธรจังหวัด ง. อธิบดีกรมการปกครอง 3. หลักการที่ว่าเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายใด ก. พระราชกำหนด ข.พระราชกฤษฎีกา ค. กฎกระทรวง ง. ประกาศจังหวัด 4. บุคคลใดต่อไปนี้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการ กรมการจังหวัด ก. หัวหน้าสำนักงานจังหวัด ข. ปลัดจังหวัด ค. รองผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด 5. หน่วยงานใดต่อไปนี้ที่ทำหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะการปฎิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และเป็นไปตามหลักการของการบริหารราชการ ก. กรมการจังหวัด ข. คณะกรรมการกฤษฎีกา ค. คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ง. คณะกรรมการจังหวัด 6. เมื่อจะมีการยกเว้น จำกัด หรือตัดทอน อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการในจังหวัด หรือให้ข้าราชการของส่วนราชการใดมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัด การกระทำดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยออกเป็นกฎหมายในระดับใด ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา ค. กฎกระทรวง ง. ประกาศจังหวัด 7. คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ใช้อักษรย่อตามข้อใดต่อไปนี้ ก. ก.ธ.จ. ข. กธจ ค. ค.ก.ธ.จ. ง. คกธจ 8. บุคคลใดต่อไปนี้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ก. ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัด ข. ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัด ค. รองปลัดกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัด ง. รองอธิบดีกรมการปกครองซึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัด 9. ในการกำหนด จำนวน วิธีสรรหา และการปฎิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ให้กระทำและปฎิบัติ ตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับตามข้อใดต่อไปนี้ ก. พระราชกฤษฎีกา ข. กฎกระทรวง ค. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ง. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี 10. บุคคลใดดังต่อไปนี้ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฎิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. ปลัดจังหวัด ค. ผู้อำนวยการสำนักงานจังหวัด ง. หัวหน้าสำนักงานจังหวัด 11. บุคคลใดดังต่อไปนี้ เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการและรับผิดชอบในการกำหนด นโยบาย เป้าหมายต่างๆ ภายในสำนักนายกรัฐมนตรี ก. นายกรัฐมนตรี ข. รองนายกรัฐมนตรี ค. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ง. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 12. บุคคลใดดังต่อไปนี้ที่มีตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ก. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ข. รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ค. รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ง. ถูกทุกข้อ 13. ในกรณีที่ภารกิจของทางราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่ง ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะ จะต้องให้งานหรือภารกิจนั้นอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของส่วนราชการใดดังต่อไปนี้ ก. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ข. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ค. สำนักงานรัฐมนตรี ง. สำนักงานคณะรัฐมนตรี 14. ภายในอำเภอจะมีคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของประชาชนที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอ ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจในการไกล่เกลี่ย ก. ข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน ข.ข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับมรดก ค. ข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท หรือมากกว่านั้น ง. ข้อพิพาททางอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี 15. ในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของประชาชนที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนา อยู่ในเขตอำเภอในเรื่องที่พิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน มรดก และข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท หรือมากกว่านั้น การกำหนดต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ตามข้อใด ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา ค. กฎกระทรวง ง. ประกาศอำเภอ 16. ในอำเภอต่างๆ การจะจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทนั้น นายอำเภอจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะบุคคลตามข้อใด ก. คณะกรมการจังหวัด ข. คณะกรรมการจังหวัด ค. คณะกรรมการกฤษฎีกา ง. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม 17. ในการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญาที่เกิดขึ้นในเขตอำเภอใดหากเป็นความผิดอันยอมความได้ และมิใช่ความผิดเกี่ยวกับเพศ หลักเกณฑ์และวิธีในการดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมายในข้อใด ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา ค. กฎกระทรวง ง. ประกาศอำเภอ 18. กรณีดำเนินการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญาที่เกิดขึ้นในอำเภอ จะต้องเป็นความผิดที่เข้าข่ายตามข้อใดต่อไปนี้ ก. ความผิดอันเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ข. ความผิดอันยอมความได้ และมิใช่เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ ค.ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ง. ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 1,000 บาท 19. สำหรับการจัดการปกครองของอำเภอนอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถจัดการปกครองให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับใดได้อีก ก. กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ข. กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในส่วนภูมิภาค ค. กฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่ ง. กฎหมายว่าด้วยวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง 20. ข้อใดต่อไปนี้เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ก. ควบคุมผู้บังคับบัญชาการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย ข. ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย ค. กำกับดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย ง. สอดส่องดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย Time is Up!