สวัสดิการข้าราชการ เป็นสิ่งสำคัญที่ดึงดูดผู้คนให้สนใจและอยากเข้ามาร่วมงานกับรัฐบาล เนื่องจากตัวของสวัสดิการต่างๆนั้นมีมากมายหลากหลาย ถึงแม้ว่าอาจจะไมไ่ด้รับเงินเดือนที่สูงเท่าเอกชนนักแต่การได้รับเข้าทำงานเป็นข้าราชการก็มีสวัสดิการ ความมั่นคงในหน้าที่การงานอื่นๆมารองรับหรือทดแทน
สวัสดิการข้าราชการ เป็นแล้วได้อะไรบ้าง ?
อาชีพข้าราชการ เป็นสิ่งที่หลายๆท่านใฝ่ฝันเพื่อเข้ามาทำงาน โดยในปีๆหนึงจะผู้สมัครเป็นจำนวนหลายแสนคน เพื่อที่จะแย่งกันเข้าทำงานราชการ เหตุเพราะสวัสดิการต่างๆที่จะได้รับดังต่อไปนี้
1.ค่าตอบแทนและความมั่นคงในชีวิต
เมื่อท่านเข้ารับราชการสิ่งที่ได้รับและเห็นผลเป็นอันดับแรกคือ ค่าตอบแทนหรือเงินเดือน ซึ่งจะเติบโตขึ้นในทุกๆปีรวมถึงตำแหน่งหน้าที่การงานของ โดยจะวัดจากระยะเวลาการเข้ารับราขการและผลงานต่างๆของท่าน ซึ่งผลตอบแทนในหัวข้อแรกทั้งหมดมี ดังนี้
- เงินประจำตำแหน่ง
- เงินเดือน
- เงินเดือนเพิ่มตามระยะเวลาและผลงาน
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- สามารถทำงานได้ถึงอายุ 60ปี (โดยจะไม่มีการจ้างพนักงานให้ลาออกเมื่ออายุเรามากขึ้น)
2.สวัสดิการด้านการเดินทาง
การเดินทางเป็นสิ่งปกติและเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพบเจอกัน แต่หากท่านเข้ารับราชการจะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆเพิ่มมากขึ้น ดังนี้
- เบี้ยเลี้ยงเดินทาง
- ค่าที่พัก
- ค่าพาหนะ
- เงินตอบแทนการ ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
- รถประจำตำแหน่ง (ตามระดับตำแหน่ง)
- คนขับเลย
3.สวัสดิการด้าน สิทธิค่ารักษาพยาบาล
สิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญอีกสิ่ง ที่ทำให้ข้าราชการเป็นอาชีพสุดพิเศษนั่นคือ สิทธิการได้รับค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการทั้งตัวของท่านเอง บิดา-มารดา รวมไปถึงคู่สมรสและบุตรของท่าน ที่จะได้รับสิทธิการเบิกค่ารักษาฟรีได้ตามหัวข้อต่อไปนี้
- ค่าห้อง ค่าอาหาร
- ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอื่นๆ
- ค่าบริการทางการแพทย์ต่างๆ รวมถึงค่าตรวจโรควินิจฉัย
- ค่าทำคลอด ค่าตรวจครรภ์ และการดูแลหลังการคลอด
- ค่าใช้เพื่อช่วยส่งเสริมสร้างสุขภาพ และป้องกันโรคภัย
- ค่าฟื้นฟูด้านสมรรถภาพทางร่างกายและจิดใจ
*นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น ก็สามารถเบิกผ่านราชการได้โดยตรงตรงกับเงื่อนไขกระทรวงการคลังกำหนด สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก
4.สวัสดิการด้านการทำงาน และลาหยุด
เวลาในการทำงานราชการนั้น โดยทั่วไปจะอยู่ที่ช่วง 8.30-16.30 ประจำตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ และมหยุดทุกวันนักขัตฤกษ์ นอกเหนือจากนี้ยังมีช่วงวันการลา โดยสามารถใช้สิทธ์การลาได้ตามหัวข้อดังนี้
- ลาป่วย
- ลาคลอดบุตร
- ลากิจส่วนตัว
- ลาพักผ่อน
- ลาติดตามผู้สมรส
- ลางานไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
- ลาไปช่วยภรรยาที่คลอดบุตร
- ลาไปอุปสมบท หรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
- ลาไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
- ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านวิชาชีพ
- ลาไปฝึกอบรม ศึกษา ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในด้านต่างๆ
*สิทธ์ในการลาและข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่ คลิก
5.สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
เป็นสวัสดิการที่สามารถเบิกค่าเล่าเรียนของบุตรได้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงจบปริญญาตรี โดยข้าราชการสามารถเบิกค่าเล่าเรียนของบุตรได้โดยชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่บุตรคนที่ 1 ไปจนถึงบุตรคนที่ 3 ตามลำดับก่อนหลัง และตัวบุตรจำเป็นต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์
6.สวัสดิการด้านการกู้ยืมเงิน
หากท่านได้รับเข้าเป็นข้าราชการ จะได้รับสิทธ์ในการกู้เงินสามัญจากสหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะมีดอกเบี้ยที่ตำกว่าเงินกู้ทั่วๆไป และยังสามารถเลือกผ่อนชำระได้เป็นเวลานาน ช่วยให้ไม่กดดันในเรื่องของการบริหารเงินเดือน โดยสหกรณ์อาจให้กู้เงินเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- เพื่อลงทุนประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
- เพื่อการศึกษาของสมาชิก หรือของบุตรสมาชิก
- เพื่อชำระหนี้สหกรณ์หรือชำระหนี้ภายนอกที่มีเอกสารหลักฐาน
- เพื่อการปรับปรุงต่อเติมหรือซ่อมแซมทรัพย์สินของสมาชิกหรือของบุพการี
- เพื่อซื้อหุ้นของสหกรณ์
- เพื่อซื้อทรัพย์สิน
- เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันภัยผู้ค้ำประกันกับบริษัทประกันที่สหกรณ์กำหนด
- เพื่อการอันจำเป็นหรือประโยชน์ด้านความสะดวกสบายของสมาชิกตามที่คณะกรรมการเงินกู้สามัญเห็นสมควร
*เงื่อนไขในการกู้ยื้มและดอกเบี้ยอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละสหกรณ์
7.สวัสดิการบำเหน็จบำนาญ
สวัสดิการนี้จะได้รับในช่วงที่คุณเกษียรอายุราชการออกมาแล้ว จะสามาถเลือกสวัสดิการได้อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ บำเหน็จและบำนาญ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันดังนี้
- เงินบำเหน็ญ : จะเป็นเงินที่ได้รับครั้งเดียวแต่เป็นจำนวนมาก โดยคิดจากเงินเดือนสุดท้ายที่ได้รับ x เข้ากับอายุราชการ (ปี)
- เงินบำนาญ : จะเป็นเงินที่ได้รับต่อเดือนไปจนเสียชีวิต โดยมีวิธีคิดจากเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เข้ากับอายุราชการ (ปี) แล้วจึงนำมาหารด้วย 50 จะได้เป็นเงินที่ท่านได้รับไปจนกว่าจะเสียชีวิต
8.เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบ เป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการจะได้รับขึ้นอยู่ที่พิจารณาเสนอของรัฐบาล เรียกได้ว่าเป็นบำเหน็จความชอบหรือเครื่องหมายเชิดชูเกียรติอย่างสูงแก่ท่านที่ได้รับ
จะเข้าทำงานราชการควรทำอย่างไร