การเปิดสอบ ก.พ.ในแต่ละปี เป็นการเปิดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป โดยใช้ แนวข้อสอบ ภาค ก ก.พ ซึ่งผู้สมัครสอบส่วนใหญ่ที่เตรียมความพร้อมในการสอบมาเป็นอย่างดีจะทราบว่า หลักสูตรและวิชาที่ใช้ในการสอบ ภาค ก ก.พ ได้แก่ การคิดคำนวณ การแก้ปัญหาเชิงปริมาณ ความเข้าใจภาษา การใช้ภาษา และวิชาภาษาอังกฤษ เมื่อสอบผ่านขั้นตอนและสามารถสอบ ก.พ ภาค ก. ได้แล้ว ก็มีโอกาสสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้หลากหลายตำแหน่ง วันนี้ ก.พ. ออนไลน์ มีตำแหน่งนิติกร พร้อมแนวข้อสอบ นิติกร ก.พ. มาแนะนำ
ตำแหน่งนิติกร คืออะไร
นิติกร คือชื่อตำแหน่งของผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในส่วนงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในบทความความนี้ ตำแหน่งนิติกร ก.พ. ออนไลน์ หมายถึง ข้าราชการพลเรือนที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านกฎหมาย เช่น นิติกร กรมการปกครอง และข้าราชการท้องถิ่นที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านกฎหมายอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้ง ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านกฎหมายอยู่ในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
หน้าที่และงานในความรับผิดชอบของนิติกร
1. ลักษณะงานด้านกฎหมายในงานข้าราชการพลเรือน
- การตรวจและปรับยกร่างกฎหมาย เป็นงานที่นิติกรหรือผู้มีหน้าที่ด้านกฎหมายจะต้อง ดำเนินการศึกษารวบรวมปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการทางกฎหมายของหน่วยงาน ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และนำมาใช้วิเคราะห์ปรับ ตรวจหรือยกร่างกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ และกฎ
- การพัฒนาหรือวิจัยกฎหมาย หมายถึงงานที่นิติกรจะต้องดำเนินการค้นคว้า หาข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์วิจัย เปรียบเทียบหลักการ แนวความคิด และบทบัญญัติของกฎหมายภายในประเทศ หรือกฎหมายต่างประเทศ หรือกฎหมายระหว่างประเทศตามแผนงานโครงการที่หน่วยงานกำหนดในการพัฒนางานทางด้านกฎหมาย
- การให้คำปรึกษาและความเห็นทางกฎหมาย ได้แก่ การให้ความเห็นทางกฎหมาย ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือทางด้านกฎหมายของส่วนราชการ หรือให้คำปรึกษาแนะนำ เสนอแนะทางด้านฎหมายเกี่ยวกับการวินิจฉัย ตีความหรือยกร่าง ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายของส่วนราชการ และสรุป วิเคราะห์ เสนอความเห็นทางกฎหมาย หรือความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- การร่างสัญญาและการบริหารสัญญา นิติกรต้องพิจารณา ร่าง ตรวจแก้ไขสัญญาที่หน่วยงาน เป็นคู่สัญญาให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อก่อให้ประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ และป้องกันมิให้ราชการต้องเสียเปรียบ
- การดำเนินการทางวินัย ได้แก่ พิจารณาข้อร้องเรียน ข้อกล่าวหา บัตรสนเท่ห์ การสอบสวนทางวินัย การพิจารณาความผิดและการกำหนดโทษ การสั่งพักราชการ หรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และการลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดวินัย
- การทำสำนวนการไต่สวน สำนวนการสอบสวน หรือสำนวนการสืบสวนจากการร้องเรียน ร้องทุกข์
- การดำเนินคดีอาญา คดีแพ่ง คดีในศาลปกครอง คดีในศาลรัฐธรรมนูญ หรือคดีอื่น หมายถึงงานที่นิติกรต้องดำเนินการแทนรัฐและหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นโจทก์และเป็นจำเลยเลยในคดี
- การพิจารณาและตรวจสอบคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง หมายถึง การศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ กลั่นกรองและให้ความเห็นในเรื่องกฎหมาย กฎ พยาน หลักฐาน ข้อเท็จจริงในคำอุทธรณ์ จัดทำสรุปจำแนกคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้คำปรึกษาแนะนำ ตอบข้อหารือปัญหาเกี่ยวกับงานอุทธรณ์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคคลทั่วไปด้วย
- การเผยแพร่ให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย เพื่อสร้างสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎหมาย แก่ข้าราชการหรือลูกจ้างภายในและภายนอกหน่วยงาน และภาคเอกชน โดยการจัดทำเอกสาร บทความหรือหนังสือให้ความรู้ จัดทำฐานข้อมูลทางกฎหมายและกฎให้ทันสมัยอยู่เสมอและใช้ได้ง่าย
- การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หมายถึง นิติกรต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย ดำเนินการยึด อายัด จำหน่ายทรัพย์สิน เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีให้ประชาชนได้เข้าใจ ตลอดจนทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและการประนอมหนี้รวมถึงการบังคับคดีตามกฎหมายอื่น
- การดำเนินมาตรการทางปกครอง หมายถึง การเตรียมคำสั่งทางปกครอง การพิจารณาคำสั่งทางปกครอง การออกคำสั่งทางปกครอง การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครอง การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
- การดำาเนินการเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดี หมายถึง การดำเนินการทุกอย่างที่จำเป็น เพื่อให้การเปรียบเทียบคดีดำเนินไปโดยลุล่วง
- การเตรียมการระงับข้อพิพาท หมายถึง ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอในกระบวนการหรือขั้นตอนของการระงับข้อพิพาทแต่ละวิธี
- งานด้านกฎหมายอื่น ที่อ.ก.พ.วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานนักกฎหมายภาครัฐรับรอง
2.ลักษณะงานด้านกฎหมายในงานปกครองส่วนท้องถิ่น
- ทำหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานตลอดจนกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาดำเนินการทางกฎหมายด้านต่าง ๆ
- การร่างหรือแก้ไขเพิ่มเติมเทศบัญญัติ กฎ ระเบียบ และข้อบังคับ
- การสอบสวนตรวจพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับวินัยพนักงาน การพิจารณาความผิดและการกำหนดโทษ การสั่งพักราชการ หรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน การลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดวินัย และการร้องทุกข์หรืออุทธรณ์
- การวินิจฉัยปัญหากฎหมาย การดำเนินการทางคดี การดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง
- จัดทำนิติกรรมหรือเอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย
เส้นทางความก้าวหน้าในสายงาน นิติกร
ความก้าวหน้าในการรับราชการ
1.ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในสายงานนิติกร เส้นทางความก้าวหน้าในสายงาน มี
ชื่อเรียกและระดับของตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
- นิติกร ระดับปฏิบัติการ
- นิติกร ระดับชำนาญการ
- นิติกร ระดับชำนาญการพิเศษ
- นิติกร ระดับเชี่ยวชาญ
- นิติกร ระดับทรงคุณวุฒิ
2.ตำแหน่งนิติกร ปฏิบัติการ สามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นระดับชำนาญการได้ โดยหากมีฒิปริญญาตรีจะใช้เวลา 6 ปี แต่หากมีวุฒิปริญญาโทใช้เวลา 4 ปี และเมื่อครองตำแหน่งระดับชำนาญการครบ 4 ปีแล้ว จะสามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นชำนาญการพิเศษ หรือจะเลือกสอบคัดเลือกขึ้นเป็นหัวหน้าฝ่าย (อำนวยการต้น) ก็ได้เช่นกัน
3.นิติกร ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ จะได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) ด้วย
4.สายงานนิติกรและตำแหน่งนิติกรเป็นที่ต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5.ตำแหน่งนิติกร จะเติบโตในสายงานของตนเอง ไม่มีการนำผลงานเปรียบเทียบกับตำแหน่งอื่น
6.สวัสดิการประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ รวมทั้งความก้าวหน้าในหน้าที่ การเลื่อนขั้นเงินเดือนการเติบโตในสายงาน เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ
ความก้าวหน้าในสายอาชีพอื่น
สำหรับความก้าวหน้าในสายงานนิติกร ซึ่งคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งก็คือต้องเป็นผู้ที่
จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์ และคนที่จบนิติศาสตร์ส่วนใหญ่ก็จะต้องทำงานทุกด้านที่เกี่ยวกับกฎหมาย โดยจะดูแลงานเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมายองค์กรและระหว่างหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐและเอกชน หากพลาดโอกาสในการสอบบรรจุรับราชการในตำแหน่งนิติกร ก็ยังสามารถก้าวหน้าในสายสายอาชีพต่าง ๆ ได้ดังนี้
1.นักกฎหมายประจำบริษัท (In House Lawyer) เป็นพนักงานประจำของบริษัทโดยรับเงินเดือนและมีสวัสดิการต่าง ๆ ตามระเบียบของบริษัทนั้น ๆ ทำหน้าที่ไม่แตกต่างไปจากนิติกรขององค์กรภาครัฐ เช่น ให้คำปรึกษาและความเห็นทางกฎหมาย การร่างสัญญาและการบริหารสัญญาของบริษัทเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัท หรือการเผยแพร่ให้ความรู้ทางด้านกฎหมายแก่พนักงาน และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ
2.ที่ปรึกษากฎหมาย (Law Firm) เป็นอาชีพที่แตกต่างจากนักกฎหมายประจำบริษัท เพราะไม่ได้รับเงินเดือนประจำ แต่ทำงานในสายงานนิติกร เช่น รับเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ให้แก่องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน หรือบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร โดยได้รับผลตอบแทนตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงของหน่วยงานนั้นๆ
3.ประกอบอาชีพเป็นครู / อาจารย์ ด้านกฎหมาย สามารถรับสอนพิเศษหรือเป็นครูอาจารย์สอนกฎหมายในสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งรับเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่วกับกฏหมาย
4.นักวิชาการด้านกฎหมาย หากมีความเชี่ยวชาญมาก ๆ ในด้านใดเป็นพิเศษหรือเลือกศึกษาเพิ่มเติม อาจวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายทำหน้าที่เป็นนักวิชาการด้านกฎหมาย เช่น เขียนหนังสือ ตำรา หรือบทความวิชาการให้ความรู้ด้านกฎหมายลงตามสื่อต่าง ๆ
5.ทนายความ สำหรับคนที่เรียนจบด้านนิติศาสตร์ หากต้องการทำอาชีพทนายความ ก็จะต้องผ่านการอบรมจากสภาทนายความก่อน และเมื่อผ่านแล้วก็จะได้ใบอนุญาตว่าความ หรือตั๋วทนาย สามารถประกอบอาชีพทนายความและรับว่าความได้ทั่วราชอาณาจักร
เส้นทางสู้อาชีพรับราชการตำแหน่งนิติกร
- จบการศึกษาและได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง
- เตรียมตัวสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ที่สำนักงาน ก.พ. จัดสอบเป็นประจำทุกปี
- ติดตามข่าวประกาศรับสมัครสอบตำแหน่งนิติกรของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อสมัครสอบ ซึ่งแต่หน่วยงานอาจกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบโดยสอบผ่าน ก.พ. ภาค ก มาแล้วหรือไม่ก็ได้ เนื่องจากบางหน่วยงานอาจเปิดสอบทั้ง ภาค ก ภาค ข และ ค พร้อมกัน โดยแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ต้องติดตาม ได้แก่
- ข่าวสารการเปิดสอบเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่ง นิติกรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. อบจ. เทศบาล)
- ข่าวสารการเปิดสอบเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่ง นิติกร ของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องมีงานที่เกี่ยวข้องกับทางกฎหมายและมีตำแหน่งนิติกรเพื่อดูแลงานด้านกฎหมายโดยเฉพาะ เช่น DSI ป.ป.ช. กฤษฎีกา ศาล กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (ในกระทรวงวัฒนธรรม) กรมราชทัณฑ์ กรมสรรพากร หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
- สมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) และสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ตามที่ส่วนราชการต่าง ๆ เปิดรับสมัคร โดยใช้หนังสือรับรองการสอบผ่านภาค ก. ที่ได้รับจากสำนักงาน ก.พ. ไปเป็นหลักฐานในการสมัครสอบ หรือบางหน่วยงานอาจเปิดสอบพร้อมกันทั้ง ภาค ก ภาค ข ภาค ค เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นิยมเปิดสอบภาค ก ในช่วงเช้า และสอบภาค ข เพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ส่วนการสอบภาค ค ซึ่งเป็นการสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง อาจประกาศหรือกำหนดสอบภายหลัง
แนวข้อสอบ นิติกร ก.พ.
สำหรับแนวข้อสอบ นิติกร ก.พ. ซึ่งสามารถอ่านเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบ สายงานนิติกร ได้ทั้งคนที่ยังไม่ผ่านการสอบ ก.พ. ภาค ค หรือคนที่สอบผ่าน ภาค ก. มาแล้ว เนื่องจากเส้นทางงสู้อาชีพรับราชการในตำแหน่งนิติกรนั้นทำได้หลายเส้นทางทั้งข้าราชการพลเรือนและข้าราชการท้องถิ่น การอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบนิติกร นอกจากอ่านหนังสือซึ่งเป็นเนื้อหาในสาขาวิชาแล้ว ยังต้องอ่านแนวข้อสอบและทดลองทำแบบทดสอบ ซึ่งขอบเขตเนื้อหา ดังนี้
หนังสือเกี่ยวกับสาขาวิชาที่ใช้สอบ
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
- พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร
- ท้องถิ่น พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
- ความรู้ด้านกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่งนิติกร
- สรุปกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- สรุปความรู้เรื่องการวินิจฉัยข้อกฎหมาย
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนเบื้องต้น
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายอาญา
- ความรู้เกี่ยวกับสัญญาและการบริหารสัญญา
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความรู้เกี่ยวกับการบริหารส่วนท้องถิ่น
แนวข้อสอบพร้อมเฉลย
- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย 2483 และแก้ไขเพิ่มเติม
- แนวข้อสอบกฎหมายลักษณะพยาน
- แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- แนวข้อสอบกฎหมายอาญา
- แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- แนวข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง
- แนวข้อสอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในลักษณะว่าด้วยพยานหลักฐาน
- แนวข้อสอบเกี่ยวกับการบริหารงานและโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
- แนวข้อสอบกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2559
เคล็ดลับ การเตรียมตัวสอบบรรจุรับราชการสายงานนิติกร
การสอบบรรจุรับราชการทั้งข้าราการพลเรือนและข้าราชการท้องถิ่น สนามสอบที่สำคัญได้แก่ การสอบ ก.พ.ภาค ก ให้ได้เสียก่อน การสอบสายงานนิติกร ก็เช่นเดียวกันการสอบผ่าน ก.พ. ภาค ก. ถือเป็นใบเบิกทางที่จะทำให้การสอบบรรจุรับราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งข้าราชการพลเรือนและข้าราชการท้องถิ่นง่ายขึ้น นอกจากนั้นการอ่านหนังสือเตรียมสอบในตำแหน่งนิติกร แนวข้อสอบ นิติกร ก.พ. ยังสามารถใช้สอบได้ทุกหน่วยงานทำให้มีโอกาสสอบบรรจุในตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ปลัดอำเภอ หรือเป็นการเตรียมความพร้อมในการสอบเนติบัณฑิตไทย เพื่อสร้างโอกาสในการสอบเป็น พนักงานอัยการ หรือผู้พิพากษา ต่อไป
สำหรับการเตรียมตัวสอบหรือเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบบรรจุรับราชการในสายงานนิติกร อาจจะต้องมีเคล็ดลับต่าง ๆ เป็นตัวช่วยหรือเป็นทางลัดทำให้การสอบประสบความสำเร็จตั้งแต่การสอบครั้งแรก ซึ่งทำได้ไม่ยาก ดังนี้
1.เตรียมตัวอ่านหนังสือล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี
การเตรียมตัวสอบในตำแหน่งนิติกร ทั้งการสอบผ่าน ก.พ. ภาค ก และการสมัครสอบที่หน่วยงานต่าง ๆ เปิดสอบแข่งขันโดยไม่ต้องผ่านการสอบ ก.พ. ภาค ก.มาก่อน ซึ่งทั้งสองสนามสอบจะเปิดสอบเป็นประจำทุกปี แต่ละสนามสอบก็จะมีผู้สมัครสอบแข่งขันเป็นจำนวนมาก การเตรียมความพร้อมที่ดีคือการเริ่มต้นอ่านหนังสือล่วงหน้าก่อนประกาศเปิดสอบอย่างน้อย 1 ปี โดยอ่านทบทวนความรู้ทั้งความรู้ทั่วไปและความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง
2.จัดหาหนังสือและแนวข้อสอบ นิติกร ก.พ.
การจัดหาหนังสือและแนวข้อสอบ นิติกร ก.พ. ไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะแนวข้อสอบเก่าที่เคยออกข้อสอบมาแล้ว นอกจากสามารถหาซื้อง่าย ราคาไม่แพงยังทำให้มีเวลาอ่านหนังสือสอบล่วงหน้า หากต้องการสอบ ก.พ. ภาค ก. ก็จะทำให้มีเวลาอ่านหนังสืออื่น ๆ ที่เป็นภาคความรู้ทั่วไป
3.ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยงานที่เปิดรับสายงานนิติกร
การสอบบรรจุรับราชการในสายงานนิติกร ผู้สมัครสอบส่วนใหญ่อาจให้ความสำคัญกับ
ตำแหน่งนิติกรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐจะต้องมีผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับกฎหมายหรือมีนิติกรประจำหน่วยงานต่าง ๆ เกือบทุกหน่วยงาน เช่น DSI ป.ป.ช. กระทรวงศึกษาธิการ กรมราชทัณฑ์ กรมสรรพากร หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ การติดตามข่าวสารและข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เหล่านี้ ช่วยเพิ่มโอกาสในการสอบบรรจุรับราชการในสายงานนิติกรได้มากขึ้น
4.จัดเตรียมเอกสารวุฒิการศึกษาให้พร้อม
ปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้สมัครสอบพลาดโอกาสในการสอบบรรจุรับราชการ ได้แก่การขาดคุณสมบัติหรือจัดเตรียมเอกสารไม่ครบถ้วน เช่น เอกสารสำคัญสำหรับการสมัครสอบสายงานนิติกรทุกสนามสอบ ก็คือวุฒิการศึกษา เพราะนอกจากต้องจัดเตรียมเอกสารสำเนาเอกสารให้พร้อม วุฒิการศึกษาและคุณสมบัติต่าง ๆ ของผู้สมัครสอบต้องศึกษาและจัดเตรียมให้ตรงตามคุณสมบัติที่หน่วยงานแต่ละแห่งประกาศรับสมัครด้วย
5.จัดหาสถาบันติวสอบ
เคล็ดลับการเตรียมตัวสอบบรรจุรับราชการสายงานนิติกร วิธีหนึ่งที่ได้รับความสนใจก็คือจัดหาหรือเลือกสถาบันติวสอบ เพื่อแนะแนวข้อสอบ นิติกร ก.พ. จากติวเตอร์โดยตรง ปัจจุบันการติวสอบทำได้หลายรูปแบบ เช่น ติวจากโรงเรียนกวดวิชา หรือติวแนวข้อสอบ นิติกร ก.พ. ออนไลน์ วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ หรืออาจเตรียมตัวอ่านหนังสือมาแล้วแต่ต้องการความรู้ที่หลากหลายและทำให้มั่นใจในการสอบมากขึ้น เนื่องจากติวเตอร์เป็นผู้มีความรู้ความสามารถโดยตรง
ข้อดีของการติวสอบและวิธีเลือกสถาบันแนะแนวข้อสอบ นิติกร ก.พ.
- ก่อนตัดสินใจควรศึกษาข้อมูลของสถาบันติวสอบหรือศึกษาคอร์สติวสอบออนไลน์ จากหลาย ๆ สถาบัน
- ต้องเป็นสถาบันหรือโรงเรียนกวดวิชาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
- มีทีมงานหรือติวเตอร์ที่มีความรู้ความสามารถในแต่ละสาขาวิชาโดยตรง
- มีคอร์สติวหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ตอบโจทย์การแนะแนวข้อสอบ นิติกร ก.พ. เช่น การติวสอบออนไลน์ การติวสอบในลักษณะเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือติวสอบแบบตัวต่อตัว ช่วยให้มีสมาธิในการอ่านและการจำ จับประเด็นสำคัญได้ง่าย
- ค่าลงทะเบียนหรือค่าคอร์สออนไลน์ไม่แพงเกินไป และสามารถเลือกเวลาเรียนได้
- ข้อดีของการติวสอบ ช่วยให้รู้แนวทางข้อสอบ ทำให้กำหนดกรอบเนื้อหาในการอ่านหนังสือแคบลง สามารถอ่านหนังสือได้ตรงประเด็น และช่วยประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือ
- การติวสอบ ติวเตอร์จะมีเทคนิควิธีการเก็งหาคำตอบ การตัดช้อยส์ต่าง ๆ เทคนิคการวิเคราะห์ข้อสอบ และนะนำการเลือกทำข้อสอบอย่างไรให้เสร็จทันเวลา ซึ่งถือเป็นข้อดีที่เป็นประโยชน์ต่อการสอบ
- การติวสอบทำให้ง่ายต่อการหาแนวข้อสอบ นิติกร ก.พ. เพราะสถาบันกวดวิชาจะจัดหาแนวข้อสอบให้อ่านตามวิชาที่ใช้สอบ พร้อมทั้งมีแบบทดสอบที่เป็นแนวข้อสอบเก่าซึ่งมีสถิติว่าใช้ออกข้อสอบอยู่เสมอ ๆ
- การติวสอบยังดีสำหรับผู้สมัครสอบที่มีเวลาเตรียมตัวน้อย โดยเฉพาะการติวสอบออนไลน์ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถเรียนหรือติวสอบอยู่ที่บ้านได้
- การซื้อคอร์สจากศูนย์ติวสอบหรือสมัครติวสอบจากสถาบันต่าง ๆยังทำให้รับรู้ข้อมูลข่าวสารการเปิดสอบจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้รวดเร็วก่อนใคร เนื่องจากสถาบันต่าง ๆ จะมีข้อมูลและแจ้งเสมอ ๆ
6.มีเป้าหมายในการสอบที่ชัดเจน
เคล็ดลับสำคัญอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการสอบบรรจุรับราชการในสายงานนิติกร ก็คือการมีเป้าหมายที่ให้ชัดเจน สำหรับการตั้งเป้าหมาย แต่ละคนอาจมีเป้าหมายในการสอบแข่งขันที่แตกต่างกัน คนที่มีงานประจำอยู่แล้ว อาจต้องการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่มีอยู่ หากสอบได้ถือเป็นผลพลอยได้ บางคนต้องการสอบรับราชการ เพื่อความมั่นคงในชีวิตและคาดหวังว่าต้องสอบให้ได้ตั้งแต่การสอบครั้งแรก แต่ไม่ว่าจะมีจุดประสงค์ในการสอบอย่างไร การตั้งเป้าหมายจะเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เตรียมตัวและเตรียมความพร้อม เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการสอบ
7.ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์การสมัครสอบ
หลักเกณฑ์และคุณสมบัติในการเปิดรับสมัครสายนิติกรของแต่ละหน่วยงาน อาจมีหลักเกณฑ์และคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น บางหน่วยงานอาจต้องการความพร้อมในด้านร่างกาย หรืออื่น ๆ การศึกษา สาขาวิชาที่เปิดรับ การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้สอบอย่างเข้าใจ เป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ที่ต้องการสมัครสอบได้เป็นอย่างดี
8.ตรวจสอบข้อมูลสถานที่สอบ ห้องสอบ และเวลาเข้าสอบ
ความผิดพลาดที่อาจทำให้การเตรียมตัวสอบมาเป็นอย่างดี ไม่ประสบความสำเร็จ ก็คือปัญหาเรื่องสถานที่สอบหรือหาห้องสอบไม่พบ ไม่สามารถเข้าห้องสอบได้ทันเวลา ควรตรวจสอบข้อมูลสถานที่สอบ ห้องสอบ และเวลาเข้าสอบอย่างละเอียด หากเป็นสถานที่ไม่คุ้นเคยอาจเลือกพักในบริเวณใกล้เคียงสถานที่สอบ จะช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ดี
การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในสายงานนิติกรทุกสนามสอบ ไม่ว่าจะเป็นการสอบผ่าน ก.พ.ภาค ก.ให้ได้ก่อนที่จะสอบภาค ข.(ภาคความรู้เฉพาะตำแหน่ง) หรือสออบในตำแหน่งนิติกรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมกันทั้ง 3 ภาค ได้แก ภาค ก.ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ภาค ข.ภาคความรู้เฉพาะตำแหน่ง(นิติกร) และภาค ค. ในแต่ละปีก็จะมีคู่แข่งหรือมีผู้สมัครสอบเป็นจำนวนมาก การเตรียมตัวอ่าน แนวข้อสอบ นิติกร ก.พ. ให้มากเป็นพิเศษ หรือเตรียมตัวอ่านล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปีก่อนประกาศรับสมัคร รวมทั้งมีเคล็ดลับการอ่านและการเตรียมตัวที่ดี ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการสอบได้ไม่ยาก