การสอบ ก.พ. ภาค ก. คือเส้นทางสู่การสอบบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสนามแรก เมื่อสอบ ก.พ. ภาค ก. ที่เป็นการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไปได้แล้ว ก็จะเป็นการสอบภาค ข และภาค ซึ่งเป็นการสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่งและการสอบสัมภาษณ์ แต่การสอบบรรจุรับราชการอาจมีขั้นตอนและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท สำหรับการสอบ ก.พ.กับท้องถิ่น เป็นการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการสามัญที่จะต้องสอบให้ครบทั้ง ภาค ก ภาค ข และภาค ค แต่ ก.พ.กับท้องถิ่น อาจมีขั้นตอนในการสอบที่แตกต่างกัน
ข้าราชการท้องถิ่น คืออะไร
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เส้นทางสู่การสอบบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่น
การสอบข้าราชการท้องถิ่น ก็คือการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือน ดังนั้น การสอบ ก.พ. กับ ท้องถิ่น จึงต้องสอบให้ครบทั้ง 3 ภาค ได้แก่การสอบภาค ก. ภาค ข และภาค ค แต่ขั้นตอนการสอบของท้องถิ่นอาจแตกต่างจากขั้นตอนการสอบ ก.พ ที่จะต้องสอบให้ผ่านภาค ก เสียก่อน แต่การสอบท้องถิ่นส่วนใหญ่จะเป็นการสอบพร้อมกันในวันเดียวทั้ง ภาค ก และ ภาค ข โดยการสอบภาค ก.จะอยู่ในช่วงเช้าส่วนช่วงบ่ายจะเป็นการสอบภาค ข เมื่อสอบทั้งภาค ก และภาค ข ได้แล้วก็จะเป็นขั้นตอนการสอบสัมภาษณ์
ในการสอบบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่น จะเปิดสอบพร้อมกันหลายตำแหน่ง ทั้งวุฒิ ระดับ ป.ตรี และวุฒิระดับตำกว่า ป.ตรีและผู้สมัครสอบจะสามารถเลือกเขตได้ว่าจะสอบบรรจุลงที่ใหน ตามตำแหน่งและอัตราของบุคลากรที่ว่างของเขตหรือภาคนั้น ๆ ซึ่งมีจำนวน 10 เขต ดังนี้
ภาคกลาง เขต 1 จัดสอบที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่
- จังหวัดชัยนาท
- จังหวัดนนทบุรี
- จังหวัดปทุมธานี
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- จังหวัดลพบุรี
- จังหวัดสระบุรี
- จังหวัดสิงห์บุรี
- .จังหวัดอ่างทอง
ภาคกลางเขต 2 จัดสอบที่จังหวัดนครนายก
- จังหวัดจันทบุรี
- จังหวัดฉะเชิงเทรา
- จังหวัดชลบุรี
- จังหวัดตราด
- จังหวัดนครนายก
- จังหวัดปราจีนบุรี
- จังหวัดระยอง
- จังหวัดสมุทรปราการ
- จังหวัดสระแก้ว
ภาคกลางเขต 3 จัดสอบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- จังหวัดกาญจนบุรี
- จังหวัดนครปฐม
- จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- .จังหวัดเพชรบุรี
- .จังหวัดราชบุรี
- จังหวัดสมุทรสงคราม
- จังหวัดสมุทรสาคร
- .จังหวัดสุพรรณบุรี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต 1 จัดสอบที่จังหวัดนครราชสีมา
- จังหวัดกาฬสินธุ์
- จังหวัดขอนแก่น
- จังหวัดชัยภูมิ
- จังหวัดนครราชสีมา
- จังหวัดบุรีรัมย์
- จังหวัดมหาสารคาม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 จัดสอบที่จังหวัดอุบลราชธานี
- จังหวัดมุกดาหาร
- จังหวัดยโสธร
- จังหวัดร้อยเอ็ด
- จังหวัดศรีสะเกษ
- จังหวัดสุรินทร์
- จังหวัดอำนาจเจริญ
- จังหวัดอุบลราชธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต 3 จัดสอบที่จังหวัดอุดรธานี
- จังหวัดนครพนม
- จังหวัดบึงกาฬ
- จังหวัดเลย
- จังหวัดสกลนคร
- จังหวัดหนองคาย
- จังหวัดหนองบัวลำภู
- จังหวัดอุดรธานี
ภาคใต้ เขต 1 จัดสอบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- จังหวัดกระบี่
- จังหวัดชุมพร
- จังหวัดนครศรีธรรมราช
- จังหวัดพังงา
- จังหวัดภูเก็ต
- จังหวัดระนอง
- จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ภาคใต้ เขต 2 จัดสอบที่จังหวัดตรัง
- จังหวัดตรัง
- จังหวัดนราธิวาส
- จังหวัดปัตตานี
- จังหวัดพัทลุง
- จังหวัดยะลา
- จังหวัดสงขลา
- จังหวัดสตูล
ภาคเหนือเขต 1 จัดสอบที่จังหวัดลำปาง
- จังหวัดชียงราย
- จังหวัดเชียงใหม่
- จังหวัดน่าน
- จังหวัดพะเยา
- จังหวัดแพร่
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- จังหวัดลำปาง
- จังหวัดลำพูน
ภาคเหนือเขต 2 จัดสอบที่จังหวัดพิษณุโลก
- จังหวัดกำแพงเพชร
- จังหวัดตาก
- จังหวัดนครสวรรค์
- จังหวัดพิจิตร
- จังหวัดพิษณุโลก
- จังหวัดเพชรบูรณ์
- จังหวัดสุโขทัย
- จังหวัดอุตรดิตถ์
- จังหวัดอุทัยธานี
หลักสูตรและวิชาที่ควรอ่านในการสอบท้องถิ่น
การสอบท้องถิ่น เกณฑ์ผู้สอบแข่งขันจะต้องได้คะแนนภาค ก ภาค ข และภาค ค แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยหลักสูตรหรือวิชาที่ควรอ่านในการสอบท้องถิ่น ได้แก่ การสอบภาค ก (100 คะแนน)
1.วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล
เป็นการทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือให้จับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมืองเศรษฐกิจหรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน และเป็นการสอบโดยข้อสอบปรนัย
2.วิชาภาษาไทย
เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในการใช้ภาษา โดยการให้สรุปความและหรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความและให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่าง ๆจากคำหรือกลุ่มคำประโยคหรือข้อความสั้นๆ หรือให้ทดสอบโดยการอย่างอื่นที่เหมาะสมกับการทดสอบความรู้ความสามารถดังกล่าว
3.วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ
เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล กฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และระเบียบงานสารบรรณ
4.วิชาภาษาอังกฤษ (ต้องสอบได้วิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 จึงจะถือว่า เป็นผู้สอบผ่านการสอบผ่าน ภาค ก)
ในการสอบ ก.พ. กับท้องถิ่น จะมีขั้นตอนที่แตกต่างกันคือ การสอบ ก.พ. ต้องสอบภาค ก.ให้ผ่านก่อน แต่ในส่วนของข้าราชการท้องถิ่น การสอบภาค ก.ภาคความรู้ทั่วไปและการสอบภาค ข ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง จะสอบพร้อมกันโดยแบ่งเป็นการสอบในช่วงเช้าและช่วงบ่าย เมื่อสอบผ่านภาค ก และภาค ข แล้วจะกำหนดสอบสัมภาษณ์อีกครั้ง
ขั้นตอนการสมัครสอบข้าราชการท้องถิ่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นอกจากประกาศเปิดรับสมัครสอบผ่านสื่อต่าง ๆ หรือประกาศรับสมัครไว้ตามหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ประสงค์จะสมัครสอบ สามารถสมัครสอบผ่านออนไลน์ได้โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1.เข้าสู่เว็บไซต์ https://dla.job.thai.com/ คลิกเมนู”ใบสมัครออนไลน์” จากนั้นอ่านขั้นตอนการสมัคร ทำความเข้าใจและจัดเตรียมภาพถ่ายเพื่อใช้ในการประกอบรับสมัคร สามารถใช้ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือโดยการโอนย้ายลงคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการอัปโหลดภาพผ่านหน้าเว็บรับสมัครได้
2.กรอกข้อมูลลงใน “แบบฟอร์มใบสมัครออนไลน์” ให้ครบถ้วนและถูกต้องพร้อมอัปโหลดภาพถ่ายสี หน้าตรง ไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตาดำ รูปถ่ายจำเป็นต้องเป็นรูปปัจจุบันเท่านั้น
3.เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้ว ระบบจะแสดงรายละเอียดที่ได้กรอกไว้ในแบบฟอร์ม ก่อนกดปุ่มส่งใบสมัคร ควรตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขให้เรียบร้อย
4.การสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์ เมื่อชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบเรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการครบทุกขั้นตอน ภายใน วัน เวลาที่กำหนดไว้
5.การชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ มีดังนี้
- ผู้สมัครที่มีบัตร ATMของธนาคาร เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์/ธนาคารกรุงไทย/ธนาคารกรุงเทพ/ธนาคารกสิกรไทย/ธนาคารกรุงศรีอยุธยา/ธนาคารทหารไทย/ ธนาคารธนชาต ฯลฯ สามารถเลือกชำระเงินเครื่อง ATM ดังกล่าว และเก็บหลักฐานการชำระเงิน (Slip)ไว้เป็นหลักฐาน
- ผู้สมัครที่ชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือ (Mobile Application)ของธนาคารที่เข้าร่วม Cross Bank Bill Payment (ธนาคารไทยพาณิชย์/ธนาคารกรุงไทย/ธนาคารกรุงเทพ/ธนาคารกสิกรไทย/ธนาคารกรุงศรีอยุธยา/ธนาคารทหารไทย/ ธนาคารธนชาต/ธนาคารออมสินธนาคารเกียตินาคิน/ธนาคารทิสโก้/ธนาคารซิตี้ แบงค์ เอ็น เอ ฯลฯ
6.ตรวจสอบสถานการณ์ชำระเงิน โดยผู้สมัครจะต้องเก็บเอกสารการชำระค่าธรรมเนียมการสอบไว้เป็นหลักฐาน เพื่อยื่นและแสดงต่อเจ้าหน้าที่คุมสอบในวันสอบ
ข้อควรระวังสำหรับผู้สมัครสอบท้องถิ่น
- ผู้สมัครสามารถสมัครได้เพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น
- ชื่อ และนามสกุล ที่ท่านกรอกลงใน “ใบสมัครออนไลน์” จะต้องเป็นชื่อและนามสกุลที่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน
- การกรอกข้อมูล ควรตรวจสอบเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนให้ถูกต้อง เนื่องจากเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน จะใช้เป็นเลขที่อ้างอิงตลอดการสอบ
- การกรอกข้อมูลในใบสมัคร จะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงทุกประการ
- การสมัครสอบทางออนไลน์ ควรตรวจทานให้ละเอียดก่อนคลิกส่งใบสมัครเพราะเมื่อส่งใบสมัครไปแล้วจะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้อีก และใบสมัครที่ข้อมูลผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลของผู้สมัครจะถือว่าใบสมัครนั้นเป็นโมฆะ
- ในการเข้าสอบท้องถิ่นผู้สอบจะต้องเข้าห้องสอบในวันและเวลา สถานที่ตามที่กำหนดไว้ และควรถึงสถานที่สอบก่อนเริ่มสอบอย่างน้อย 30 นาที
สำหรับการสอบ ก.พ.กับท้องถิ่น แม้จะเป็นการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการสามัญเช่นเดียวกัน แต่ขั้นตอนการสอบอาจจะแตกต่างกัน การเตรียมความพร้อม วิชาที่ใช้สอบ คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ รวมทั้งสนามสอบหรือสถานที่ใช้สอบ ผู้ที่สนใจสมัครสอบข้าราชการท้องถิ่น จึงต้องตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อไม่ให้โอกาสในการสมัครสอบ